ปี 2565 ได้ดำเนินงานภายใต้ชุดโครงการ “การวิจัยและพัฒนาเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์สู่การเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต” ซึ่งเป็นการต่อยอดการดำเนินโครงการวิจัยในปีที่ 1 สามารถสรุปผลการดำเนินโครงการวิจัยได้ดังนี้
1. เกิดภาคีเครือข่าย นักจัดการเรียนรู้เมือง (City Learning Administrator) ขับเคลื่อนและพัฒนานักจัดการเรียนรู้เมืองให้เกิดความเข้มแข็ง เกิดการพัฒนาให้เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์เป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ ที่จะมุ่งผลในการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนทุกช่วงวัย เกิดพื้นที่ Knowledge Transfer ของท้องถิ่นที่มีความเข้มแข็งและยั่งยืน
2. เกิดพื้นที่การเรียนรู้ในรูปแบบการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนพื้นที่เรียนรู้มีชีวิต (Living learning Space) ณ พิพิธภัณฑ์ของดีเมืองกาฬสินธุ์ (หอศิลป์) ในรูปแบบ co-working space ที่ทุกวัยสามารถมาเรียนรู้ได้ ตามความต้องและความเหมาะสมของทุกช่วงวัย โดยมีกิจกรรมการขับเคลื่อน และส่งต่อการเรียนรู้ในทุก ๆ สัปดาห์
3. เกิดความร่วมมือหรือหุ้นส่วนความร่วมมือ (Collaborations and partnerships) ในการเกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชนเขตเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ ผ่านแหล่งเรียนรู้ชุมชน
4. เกิดการจุดประกายสำหรับการก่อตั้งบริษัท กาฬสินธุ์พัฒนาเมือง ซึ่งเป็นการร่วมถอดบทเรียนกับผู้ก่อตั้งบริษัท ขอนแก่นพัฒนาเมือง (เคเคทีที) จำกัด ตามแนวคิด Smart City
5. เกิดพื้นที่แรงบันดาลใจในการทำกิจกรรม เนื่องจาการดำเนินกิจกรรมในปีที่ผ่านมาโครงการวิจัยได้สร้างพื้นที่ศิลปะ ทั้งภายในและภายนอกพิพิธภัณฑ์ของดีเมืองกาฬสินธุ์ (หอศิลป์) ที่
6. เกิดกลไกการเชื่อมต่อระหว่างผู้ซื้อ และผู้ขาย ณ ตลาดสร้างสุข พิพิธภัณฑ์ของดีเมืองกาฬสินธุ์ (หอศิลป์) ที่มีการสร้างกิจกรรมหนุนเสริม สามารถกระตุ้นยอดขายและการรับรู้ขึ้นในพื้นที่
จากผลการดำเนินโครงการวิจัยข้างต้นมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ และภาคีเครือข่ายจะดำเนินการร่วมมือกับหน่วยงานภาคีต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาชน เพื่อให้เกิดเป็นการพัฒนาเมืองน่าอยู่ เมืองน่าเที่ยว เมืองน่าลงทุน และเมืองน่าศึกษา ที่เชื่อมโยงกับการพัฒนาชุมชน/ท้องถิ่นอย่างแท้จริง